ประวัติรองเท้า Birkenstock พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ ?

ประวัติรองเท้า Birkenstock พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ ?

ENNXO
/
Blog
/
ประวัติรองเท้า Birkenstock พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ ?
แชร์
Social Sharing
Share on Facebook
Share on Line
Share on Twitter (X)
Copy URL
อัพเดทล่าสุด: 23 มีนาคม 2024

ประวัติรองเท้า Birkenstock (เบอร์เคนสต๊อก) รองเท้าสัญชาติเยอรมัน คุณรู้หรือไม่ว่าก่อนจะเป็นไอเทมสุดฮิตในวงการแฟชั่น รองเท้าแบรนด์นี้เคยถูกจัดอยู่ในหมวดรองเท้าเพื่อสุขภาพมาก่อน เพราะตามการรับรู้ในปัจจุบันหลายๆ ท่านอาจมองว่ารองเท้า Birkenstock เป็นเพียงรองเท้าแฟชั่นแบรนด์หนึ่งที่มาพร้อมกับคำเตือนว่า ห้ามเปียกน้ำนะ!  แต่จริงๆ แล้วรองเท้าแบรนด์นี้มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีความพิเศษซ่อนอยู่อีกมากมายให้ทุกคนได้ลองค้นหา โดยคุณจะได้เริ่มค้นหาความพิเศษของรองเท้า Birkenstock จากเนื้อหาด้านล่างนี้

รองเท้า Birkenstock กับจุดเริ่มต้นจากการเป็นแผ่นรองรองเท้าเพื่อสุขภาพ

อย่างที่ทราบกันว่ารองเท้าเบอร์เคนสต๊อก (Birkenstock) มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันแบรนด์มีอายุมากกว่า 249 ปี โดยเราจะพาย้อนกลับไปในปีที่แบรนด์เริ่มก่อตั้งขึ้นค.ศ. 1774 ณ เมือง Langen - Bergheim ประเทศเยอรมนี มีช่างปะรองเท้าชื่อโจฮันน์ อดัม เบอร์เคนสต๊อก  (Johann Adam Birkenstock) เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์แบรนด์รองเท้านี้ขึ้น จากการศึกษาข้อมูลไม่พบเอกสารที่บอกถึงลักษณะเด่นของรองเท้าเบอร์เคนสต๊อกที่ผลิตในช่วงแรก

มาในปี 1896 หลานของโจฮันน์มีชื่อว่าคอนราด (Konrad Birkenstock) เป็นอดีตนักพายเรือระดับปรมาจารย์ เขาได้หันมาจับธุรกิจรองเท้าโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากคุณหมอที่เมื่อยจากการยืนผ่าตัดเวลานาน ทำให้เขาหันมาผลิตแผ่นรองรองเท้าชื่อ “Fussbett (Footbed)” ความพิเศษของแผ่นรองรองเท้านี้คือการออกแบบมาให้ยืดหยุ่นรองรับรูปทรงของเท้า โดยพื้นรองเท้าจะมีลักษณะนูนสูง/ต่ำต่างกันเพื่อรองรับน้ำหนักให้กระจายทั่วทั้งฝ่าเท้า ทำให้ไม่เมื่อยเมื่อต้องยืนนานๆ ซึ่งแตกต่างจากในเมื่อก่อนที่การผลิตรองเท้าทั่วไปนั้น ตรงพื้นจะถูกจะเป็นเพียงแผ่นรองแบบเรียบๆ แบนๆ โดยเราจะเห็นการออกแบบแผ่นรองรองเท้าของคอนราดได้จากพื้นรองเท้าเบอร์เคนสต๊อกในปัจจุบัน 

ประวัติรองเท้า Birkenstock พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ ?

ในปี 1925 แผ่นรองรองเท้าที่คอนราดได้ออกแบบขึ้นเริ่มเป็นที่นิยมและมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าของเขาถูกขายไปทั่วทั้งทวีปยุโรป ต่อมาในปี 1932 คาร์ล (Carl Birkenstock) ลูกชายของคอนราดเริ่มหันมาเอาดีกับอุตสาหกรรมการทำแผ่นรองรองเท้าเพื่อสุขภาพ เขาได้เปิดคอร์สสอนวิธีการทำและได้การยอมรับจากแพทย์เฉพาะทางว่าเป็นสิ่งที่ช่วยดูแลสุขภาพเท้าให้มีสุขภาพดีมากขึ้น และคาร์ลยังได้เขียนหนังสือเรื่อง “Podiatry - The Carl Birkenstock System” ว่าด้วยการออกแบบแผ่นรองรองเท้าไปจนถึงการดูแลฝ่าเท้า โดยหนังสือเล่มนี้มีการตีพิมพ์ไปมากกว่า 14,000 เล่ม 

ประวัติรองเท้า Birkenstock พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ ?ประวัติรองเท้า Birkenstock พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ ?

ต่อมาในปี 1963 คาร์ล (Karl Birkenstock) ลูกชายของคาร์ล (Carl Birkenstock) ก็ได้เปิดตัวรองเท้ารุ่นแรกของเบอร์เคนสต๊อกที่มีชื่อรุ่นว่า “Madrid” มีลักษณะเป็นสายรัดตรงหน้าเท้าหนึ่งเส้นหรือที่เรียกว่า Single Strap Sandals โดยอีก 10 ปีหลังจากนั้นคาร์ลก็ได้ผลิตรองเท้าอีกรุ่น ชื่อว่า “Arizona” เป็นรองเท้าที่มีสายรัดหน้าเท้าเพิ่มมาเป็นสองเส้น ซึ่งหลายๆ ท่านน่าจะคุ้นเคยกันดีเพราะรองเท้ารุ่นนี้ได้กลายเป็นไอคอนิกของเบอร์เคนสต๊อกเลยก็ว่าได้ อีกทั้งยังเป็นรุ่นที่ขายดีที่สุดในปัจจุบันอีกด้วย 

รองเท้า Birkenstock กับวันที่เริ่มเข้าสู่วงการแฟชั่น

รองเท้า Birkenstock เริ่มกลายเป็นไอเท็มฮิตของคนในวงการแฟชั่นได้อย่างไร ในเมื่อจุดประสงค์แรกเริ่มของการผลิตรองเท้า คือเพื่อดูแลสุขภาพไม่ให้เมื่อยจากการต้องยืนในระยะเวลานานๆ ซึ่งแน่นอนว่ามุมมองของการเป็นรองเท้าเพื่อสุขภาพนั้นสิ่งที่คนทั่วไปจะคำนึงถึงเวลาตัดสินใจซื้อรองเท้า คือรองเท้าสามารถซัพพอร์ตสุขภาพเท้าของเขาได้หรือไม่เป็นอันดับแรก สำหรับดีไซน์คงเป็นช้อยส์หลังๆ ที่นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ทำให้ยุคแรกๆ รองเท้า Birkenstock ไม่ได้มีดีไซน์ของรองเท้าที่หลากหลายแตกต่างกับการออกแบบรองเท้าในสายแฟชั่นที่จะออกดีไซน์ใหม่มาเรื่อยๆ ตามฤดูกาล

ประวัติรองเท้า Birkenstock พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ ?

วันที่รองเท้า Birkenstock เริ่มก้าวเข้าสู่คนในวงการแฟชั่นมาจากการถ่ายแบบของเคต มอส (Kate Moss) นางแบบชื่อดังชาวอังกฤษ เพราะเธอได้สวมรองเท้า Birkenstock ถ่ายแบบลงในนิตยสาร The Face ฉบับเดือนกรกฎาคม ในปี 1990 การถ่ายแบบในครั้งนี้นับว่าเป็นการแจ้งเกิดเธอและแจ้งเกิดรองเท้า Birkenstock ในแวดวงแฟชั่นอีกด้วย เพราะหลังจากนั้นเราก็จะเริ่มเห็นเซเลบริตี้สวมรองเท้าออกสู่สาธารณชนมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งในปี 2012 โฟบี ไฟโล (Phobe Philo) ดีไซน์เนอร์หญิงแห่งยุคซึ่งในขณะนั้นเธอทำงานให้กับแบรนด์ไฮแฟชั่นอย่างเซลีน (Céline) เธอได้ออกแบบรองเท้ารุ่นพิเศษให้กับ Birkenstock โดยการนำเอาขนมิงค์มาใส่ที่พื้นของรองเท้ารุ่น Arizona และเป็นที่ฮือฮากันอย่างมากจนมีคนตั้งฉายาให้กับรองเท้ารุ่นนี้ว่า “Furkenstock”

ประวัติรองเท้า Birkenstock พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ ?ประวัติรองเท้า Birkenstock พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ ?ประวัติรองเท้า Birkenstock พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ ?

มาถึงปี 2020 ที่รองเท้ากลับมาเป็นกระแสอีกครั้งโดยเราได้เห็นเหล่าคนดังหลายๆ คนต่างหยิบรองเท้า Birkenstock มาใส่อย่างเช่นเดวิด เบ็คแฮม (David Beckham), คานเย เวสต์ (Kanye West) , จีจี้ ฮาดิด (Gigi Hadid) และ เคนดัล เจนเนอร์ (Kendall Jenner) เป็นต้น แถมในปี 2020 นิตยสาร British Vogue ก็ยกให้ Birkenstock เป็นรองเท้าแห่งปี ซึ่งความป๊อปปูล่าของรองเท้าแบรนด์นี้ก็ยังคงนิยมอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน เพราะไม่ใช่คนดังฝั่งยุโรป อเมริกา ที่นิยมใส่กันแต่ยังลามมาถึงฝั่งเอเชียบ้านเราอีกด้วยอย่าง Jungkook สมาชิกวง BTS ที่เขาได้ปรากฏตัวต่อหน้าสื่อพร้อมกับรองเท้าคู่โปรดอย่าง Birkenstock ให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ 

รองเท้า Birkenstock กับคำตอบที่ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ?

มาดูที่กระบวนการผลิตรองเท้า Birkenstock กันบ้าง อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่ารองเท้ามีจุดเริ่มต้นมาจากการผลิตแผ่นรองรองเท้าเพื่อสุขภาพ ซึ่งในปัจจุบันคุณสมบัติข้อนี้ก็ยังเป็นจุดเด่นของรองเท้าแบรนด์นี้อยู่ โดยพื้นรองเท้าประกอบไปด้วย 4 ชั้น ส่วนประกอบหลักๆ คือการนำไม้ก๊อกธรรมชาติมาผสมกับปอกระเจาและยางพารา แล้วนำมาอัดรวมกันเป็นฐานของรองเท้าเพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับรองเท้า และสามารถรองรับน้ำหนักที่ส่งลงมาที่เท้าแล้วซับแรงกระแทกได้ ส่วนชั้นบนสุดมีการหุ้มด้วยหนังกลับที่ทำหน้าที่ดูดซับความชื้นของฝ่าเท้า 

ประวัติรองเท้า Birkenstock พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ ?ประวัติรองเท้า Birkenstock พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงห้ามเปียกน้ำ ?

ความพิเศษของรองเท้า Birkenstock อีกอย่างคือ ในกระบวนการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนขั้นตอนสุดท้าย โรงงานที่ผลิตรองเท้าจะเป็นของ Birkenstock เองทั้งหมด ไม่ได้ผ่านการจ้างผลิตที่โรงงานอื่นแต่อย่างใด แปลว่ารองเท้า Birkenstock ผลิตที่เยอรมันทั้งหมดนั่นเอง ซึ่งจุดนี้อาจจะตอบคำถามหลายๆ ท่านได้ว่าทำไมรองเท้าถึงมีราคาแพงกว่ารองเท้าแตะตามท้องตลาด

มาที่คำถามว่าทำไมรองเท้า Birkenstock ถึงห้ามเปียกน้ำ จริงๆ จะใช้คำว่าห้ามเปียกน้ำก็ดูเป็นการบังคับจนเกินไป เราเพียงแค่ไม่แนะนำให้ใส่รองเท้า Birkenstock ลุยน้ำหรือต้องเปียกน้ำบ่อยๆ เพราะดูจากกระบวนการผลิตที่ใช้วัสดุจากไม้ก๊อกเป็นหลัก เมื่อเปียกน้ำบ่อยๆ เข้าไม้ก๊อกตรงพื้นรองเท้าก็จะค่อยๆ บวมออกมา และหลุดรุ่ยจนใช้งานไม่ได้ แต่หากใครหลีกเลี่ยงรองเท้าจากน้ำไม่ได้เรามีวิธีการดูแลเบื้องต้นคือต้องนำรองเท้ามาเช็ดน้ำออกจนหมาด แล้วค่อยนำไปผึ่งลมหรือวางในสถานที่โล่งๆ ปล่อยให้รองเท้าแห้งเองและที่สำคัญไม่ควรตากแดด เพราะจะทำให้หนังกลับที่อยู่ชั้นบนสุดของรองเท้าเกิดแห้งและหดตัวได้

ท้ายที่สุดนี้หากใครกำลังลังเลว่าจะซื้อรองเท้า Birkenstock ดีไหม ถึงแม้ว่ารองเท้าดูจะมีข้อจำกัดในการใช้งาน แต่เราเองยังเชื่อว่าหากคุณได้ลองใส่รองเท้าแบรนด์นี้พร้อมกับทราบประวัติศาสตร์อันยาวนานของรองเท้า อาจจะทำให้คุณมองข้ามข้อเสียเหล่านั้นไปจนกลายเป็นหลงรักรองเท้าจากแบรนด์ Birkenstock แทน

แชร์
Social Sharing
Share on Facebook
Share on Line
Share on Twitter (X)
Copy URL

บทความใกล้เคียง