รวมมาให้แล้ว ต่อภาษีรถยนต์ พร้อมต่อพรบรถยนต์ออนไลน์ ทำยังไง

รวมมาให้แล้ว ต่อภาษีรถยนต์ พร้อมต่อพรบรถยนต์ออนไลน์ ทำยังไง

ENNXO
/
Blog
/
รวมมาให้แล้ว ต่อภาษีรถยนต์ พร้อมต่อพรบรถยนต์ออนไลน์ ทำยังไง
แชร์
Social Sharing
Share on Facebook
Share on Line
Share on Twitter (X)
Copy URL
อัพเดทล่าสุด: 23 มีนาคม 2024

ภาษีรถยนต์ และพ.ร.บ.รถยนต์ เป็นสิ่งสำคัญที่คนมีรถยนต์ต้องรู้ โดยเฉพาะมือใหม่หัดขับ เพราะจะทำให้คุณขับรถได้อย่างถูกกฎหมาย โดยสมัยนี้การต่อภาษีรถยนต์และพ.ร.บ.รถยนต์สามารถดำเนินการได้ง่ายๆ เพียงอยู่บ้านก็ทำได้เลยชิลๆ สำหรับใครที่ยังสงสัยว่าการต่อภาษีรถยนต์ กับพ.ร.บ.รถยนต์มีขั้นตอนอย่างไรและสองอันนี้แตกต่างกันเช่นไร ซึ่งทางเรารวมมาไว้ให้แล้ว อ่านได้เลยที่นี่

ข้อมูลเรื่องรถยนต์วิธีต่อภาษี และพรบรถยนต์ออนไลน์ ทำได้ง่าย ๆ

การต่อภาษีและพ.ร.บ.รถยนต์มีวิธีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถทำผ่านได้ทางออนไลน์ เพียงแค่เตรียมเอกสารให้ครบก่อนดำเนินการ แต่ก่อนที่จะไปดูขั้นตอนการต่อภาษี การต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์นั้น มารู้จักภาษีรถยนต์ และพ.ร.บ.รถยนต์กันก่อน

ภาษีรถยนต์ และพรบรถยนต์ คืออะไร

ตามกฎข้อบังคับในการใช้รถยนต์ ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ต้องต่อภาษีรถยนต์และพ.ร.บ.รถยนต์อย่างสม่ำเสมอ หากไม่ปฏิบัติตามจะเสียค่าปรับ หรือถึงขั้นเข้าข่ายทำผิดกฎหมาย

ภาษีรถยนต์ คือ?

ภาษีรถยนต์หรือการต่อทะเบียนรถยนต์ คือภาษีรายปีที่เจ้าของรถยนต์ต้องจ่ายให้กับกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเงินส่วนนั้นทางกรมการขนส่งทางบกจะนำไปเป็นงบประมาณในการพัฒนาด้านคมนาคมและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกในการขับรถบนท้องถนน เมื่อคุณทำการต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว จะได้ป้ายภาษีรถยนต์ที่มีลักษณะเป็นป้ายสี่เหลี่ยม ที่ต้องนำมาติดตรงด้านหน้ารถบริเวณข้างๆ กระจก

การต่อภาษีรถยนต์สามารถต่อภาษีล่วงหน้าได้ก่อน 90 วัน แต่ในกรณีที่มีการต่อภาษีรถยนต์ล่าช้า จะมีค่าปรับคิดเป็น 1% ต่อเดือน ถ้าขาดติดต่อกันมากกว่า 3 ปี ถือว่าป้ายทะเบียนนั้นถูกยกเลิกทันที และต้องไปทำทะเบียนรถใหม่พร้อมจ่ายค่าปรับ 

การต่อภาษีรถยนต์

พรบรถยนต์ คือ?

พ.ร.บ.รถยนต์ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ เป็นประกันภาคบังคับที่ทุกรถยนต์จะต้องมีการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ซึ่งพ.ร.บ.รถยนต์นี้จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่รถยนต์ได้รับความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งให้ความคุ้มครองเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยจะคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นและคุ้มครองค่าสินไหมทดแทน

การต่อพรบรถยนต์

ดังนั้นเจ้าของรถยนต์ต้องต่อพ.ร.บ.รถยนต์เป็นประจำทุกปี หากไม่ได้ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้อีกด้วย โดยค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ.รถยนต์นั้นจะขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดรถ ดังนี้

  • รถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 600 บาท
  • รถยนต์ 7-15 ที่นั่ง 1,100 บาท
  • รถยนต์ 15-20 ที่นั่ง 2,050 บาท
  • รถยนต์ 20-40 ที่นั่ง 3,200 บาท
  • รถยนต์เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท
  • รถบรรทุก น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน 900 บาท
  • รถบรรทุก น้ำหนักไม่เกิน 3-6 ตัน 1,220 บาท
  • รถบรรทุก น้ำหนัก 6-12 ตัน 1,310 บาท
  • รถพ่วง 600 บาท
  • รถยนต์ใช้เพื่อการเกษตร 90 บาท
  • หัวรถลากจูง 2,370 บาท
รถยนต์

การต่อพ.ร.บ.รถยนต์ทำได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ถ้าออฟไลน์ ติดต่อทำเรื่องได้ที่ สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ, ห้างสรรพสินค้าที่มีป้าย “Shop Thru for Tax”, ที่ทำการไปรษณีย์, เซเว่นอีเลฟเว่น และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

กรณีที่คุณซื้อรถยนต์มือสองมา แล้วทำพ.ร.บ.รถยนต์หาย นอกจากถามเจ้าของคนเก่าแล้ว สามารถโทรสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงาน คปภ. เบอร์ 1186 กด 2 เพียงเท่านี้ก็จะได้ข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์แล้ว

ต่อพรบรถยนต์ออนไลน์ อย่างไร?

การต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ที่เชื่อมอินเทอร์เน็ตได้อย่างคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เพียงเท่านี้ก็ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ได้แล้ว

ช่องทางการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ มีทั้งเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก แอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax และอื่นๆ อีกมากมายที่ให้บริการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ โดยเราจะมาบอกวิธีการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ผ่านทางกรมการขนส่งทางบก มีขั้นตอนดังนี้

เว็บไซต์ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

1.เข้าเว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก e-Serviceใส่เลขประจำตัวบัตรประชาชนและรหัสผ่าน กรณีที่ยังไม่เคยลงทะเบียน กดเลือกที่ ลงทะเบียนสมาชิกใหม่ แล้วกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน

2.เมื่อเป็นสมาชิกเรียบร้อยแล้ว ให้เลือกการบริการ กดชำระภาษีรถประจำปี > ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต

3.เว็บไซต์จะพามาหน้าค้นหาข้อมูลการลงทะเบียนรถ โดยต้องเลือกประเภทรถ จังหวัด และเลยทะเบียนรถ ให้ถูกต้อง แล้วทำการกดบันทึก หลังจากนั้นจะมีข้อมูลทะเบียนรถปรากฏ ให้กดตรงกรอบสี่เหลี่ยมด้านหน้า ต่อด้วยกด “ยื่นชำระภาษี”

**กรณีที่ไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน เมื่อเลือกประเภทรถ จังหวัด เลขทะเบียนรถเรียบร้อยแล้ว ให้กดเลือกที่ลงทะเบียนรถก่อน 

4.เว็บไซต์จะพาไปหน้าข้อมูลการยื่นชำระภาษี ตรวจเช็คข้อมูลพร้อมกดเลือกซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์ได้เลย

5.หน้าต่อมาให้ทำการกรอกสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบเรียบร้อย แล้วทำการชำระเงิน เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์

วิธีต่อภาษีรถยนต์ผ่านเว็บของกรมขนส่งทางบก

ก่อนที่จะดำเนินการต่อภาษี ต้องเตรียมเอกสารให้ครบเสียก่อน โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้

1.คู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริงหรือสำเนา

2.พ.ร.บ.รถยนต์

3.ใบรับรองการตรวจสอบสภาพรถยนต์ กรณีที่รถยนต์มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป หรือตัวรถมีการดัดแปลง

ประกาศรถยนต์

ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์บนเว็บกรมขนส่งทางบก มีดังนี้

เว็บไซต์ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

1.เข้าเว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก e-Serviceใส่เลขประจำตัวบัตรประชาชนและรหัสผ่าน 

2.กดชำระภาษีรถประจำปี > ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต

3.เว็บไซต์จะพามาหน้าค้นหาข้อมูลการลงทะเบียนรถ โดยต้องเลือกประเภทรถ จังหวัด และเลยทะเบียนรถ ให้ถูกต้อง แล้วทำการกดบันทึก หลังจากนั้นจะมีข้อมูลทะเบียนรถปรากฏ ให้กดตรงกรอบสี่เหลี่ยมด้านหน้า ต่อด้วยกด “ยื่นชำระภาษี”

4.เว็บไซต์จะพาไปหน้าข้อมูลการยื่นชำระภาษี ตรวจเช็คข้อมูลพร้อมกดไปหน้าถัดไป

5.หน้าต่อมาให้ทำการกรอกสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบเรียบร้อย แล้วทำการชำระเงิน เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

สรุปแล้วภาษีรถยนต์ และพ.ร.บ.รถยนต์ ทั้งสองอันนี้ไม่ใช่อันเดียวกัน โดยภาษีรถยนต์คือตัวป้ายทะเบียนรถยนต์ ส่วนพ.ร.บ.รถยนต์คือการคุ้มครองรถยนต์ ซึ่งผู้ที่มีรถยนต์จะต้องดำเนินการต่อสองอันนี้เป็นประจำทุกปี หากทำการล่าช้าจะมีการเสียค่าปรับ หรือหากปล่อยปะละเลยจะถือว่าเป็นการขับรถแบบผิดกฎหมาย โดยขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ และพ.ร.บ.รถยนต์นั้น ก็แสนจะง่าย มีทั้งออฟไลน์ให้เลือกตามสถานที่สะดวก หรือจะเป็นออนไลน์ที่นั่งทำตามขั้นตอนไม่กี่ขั้นตอนก็เสร็จสมบูรณ์ ง่ายๆ ขนาดนี้เพื่อนๆ อย่าลืมเช็ควันหมดอายุของภาษีรถยนต์ และพ.ร.บ.รถยนต์ของตนเองกันนะ

สำหรับใครที่กำลังวางแผนมองหาซื้อรถยนต์ผ่านช่องทางซื้อขายรถยนต์ออนไลน์ หรือต้องการปล่อยขายรถของตนเอง สามารถเข้ามาใช้บริการได้ที่ ENNXO (เอ็นโซ่) ตลาดรถออนไลน์ที่มีสินค้ารถมือหนึ่ง รถมือสองหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายรุ่น ให้เลือกค้นหาเจอได้ทันที และยังลงประกาศฟรีได้ง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน เรียกได้ว่าครบจบภายในที่เดียว

แชร์
Social Sharing
Share on Facebook
Share on Line
Share on Twitter (X)
Copy URL

บทความใกล้เคียง